Thursday, 22 September 2016

การสังเกตุอาการของปลานิล

การสังเกตุอาการของปลานิล
ในการเลี้ยงปลาแต่ละชนิดไม่ว่าจะเลี้ยงในกระชัง ในระบบน้ำหมุนเวียนและในบ่อคอนกรีตก็ตาม การป้องกันและการสังเกตุปลาที่เลี้ยงเป็นแนวทางที่จำเป็นมากในการเลี้ยงปลา ที่จะนำมาใช้ในการเลี้ยงปลาและเป็นผลดีต่อผู้เลี้ยงปลา ซึ่งการป้องกันและกำจัดสิ่งที่มารบกวนปลาก่อนที่จะมาถึงตัวปลาให้หมดหรือไม่หมดก็ได้ เพราะมันจะกลับมาอีก ถ้าไม่มีการสังเกต การป้องกัน เช่น ออกซิเจนต่ำ ปลาไม่กินอาหาร ปลาลอยหัว ปลาเป็นแผล ปลาตาย ปลาเอาลำตัวถูกับพื้นบ่อ และการจัดการในเรื่องต่าง ๆ ในการเลี้ยงปลา ซึ่งถ้าไม่แก้ไขและป้องกันจะทำให้เสียหายมากขึ้น แต่ถ้ามีการสังเกต ป้องกัน แก้ไข และตัดไฟแต่ต้นลมก็จะลดการสูญเสียน้อยลง โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ออกซิเจนต่ำ ออกซิเจนไม่พอเพียงสำหรับปลาหายใจ ปลากินอาหารมากและเวลาแช่ยาปลาที่เป็นโรค ออกซิเจนเป็นตัวช่วยให้ปลามีชีวิตอยู่ได้ และทำให้ปลาเจริญเติบโตดี ถ้าเลี้ยงปลาหนาแน่นมาก ให้อาหารปลากินมาก ควรมีการเฝ้าระวังเป็นอย่างดี เพราะออกซิเจนจะต่ำช่วงไหนก็ได้ ดังนั้นเราจึงต้องมีการสังเกตและป้องกันตลอดระยะของการเลี้ยงปลา
ข้อสังเกต
อาการปลาที่ตายจากการขาดออกซิเจน ปลาอ้าปากและถ้าปลาเริ่มขาดออกซิเจนจะเริ่มลอยหัว ตัวดำเพราะปลาเครียดและถ้าพบอาการแบบนี้ต้องเพิ่มอากาศให้มาก โดยการติดตั้งแอร์ปั้มเพิ่มทันที หรือถ้าน้ำขุ่นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำทันที
วิธีการป้องกันและไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นบ่อย ๆ ควรต้องมีการตรวจเช็คออกซิเจนเป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขออกซิเจนต่ำ และเมื่อรู้ว่าบ่อไหนออกซิเจนต่ำก็จะทำการแก้ไขโดยการเพิ่มออกซิเจนให้ปลา โดยออกซิเจนควรจะอยู่ในช่วง 5 ขึ้นไปถึงจะดี และถ้าต่ำกว่า 4 ลงมาควรมีการเพิ่มปั้มลมไว้ก่อน เพื่อป้องกันปลาขาดออกซิเจน
2. ปลาไม่กินอาหาร ปลาลอยหัว ปลาเอาลำตัวถูกับพื้นบ่อ ปลาเป็นแผลและเกาะกลุ่มอยู่ที่ออกซิเจน ซึ่งเป็นอาการของปลาที่เลี้ยงและพบบ่อยในระบบน้ำหมุนเวียน และอาจจะสันนิฐานได้ว่าปลาที่เลี้ยงอาจจะเป็นโรคชนิดใดชนิดหนึ่ง หรืออาจจะเป็นพวกปรสิตเกาะและถ้าพบอาการแบบนี้ในปลา 1-2 ตัว ให้ทำการป้องกันหรือสังเกตอาการปลาที่เลี้ยง ซึ่งจะได้รักษาและป้องกันได้ถูกทาง ถ้าไม่สังเกตอาการก่อนจะเกิดความเสียหายสูญเสียปลามาก ทำไมปลาลอยผิว ทำไมปลาเอาลำตัวถูกับพื้นบ่อ และทำไมปลามารวมกลุ่มที่ออกซิเจน ซึ่งเหมือนกับหมอที่รักษาคนไข้ ต้องถามอาการและสังเกตคนไข้ก่อนจึงจะรักษาไข้ถูกวิธี แต่ปลาที่เลี้ยงเขาพูดไม่ได้ เราจึงต้องมีการสังเกตอาการปลาที่เลี้ยง เพื่อจะได้รักษาและป้องกันได้ถูกวิธีและไม่ลุกลามไปมากกว่าที่เป็นอยู่ เช่น
- ปลาเอาลำตัวถูกับพื้นบ่อ อาจมีหลายสาเหตุ เช่น จุดขาว ปรสิตเกาะซึ่งทำให้ปลาเป็นแผลและ
ติดเชื้อตาย
วิธีป้องกัน
- จะทำทันที่เมื่อพบเห็นอาการแบบนี้หรือถ้าเห็นปลาตายก็นำปลาไปตรวจก่อน แต่ต้องนำปลาที่
พึ่งตายหรือปลายังไม่ตายตรวจหรือจับปลามาขูดเมือกปลาไปตรวจดู บางครั้งอาจสุ่มทีละ 2-3 ตัว เพื่อให้แน่ใจว่ามีสิ่งแปลกปลอมอยู่หรือไม่ ถ้าพบก็ทำการรักษาและป้องกันไม่ให้ลุกลามมากขึ้น
- ปลาลอยหัวเกาะกลุ่มอยู่ที่ออกซิเจน ซึ่งต้องสังเกตให้ดีว่าปลาเกาะกลุ่มเป็นโรคหรือเกาะกลุ่ม
เพราะขาดออกซิเจน และปลาที่เกาะกลุ่มเป็นโรคอาจจะมีบางสิ่งบางอย่างไปรบกวนการทำงานของเหงือกปลา ทำให้ปลาใช้ออกซิเจนไม่เติมที่ และอาจจะทะยอยตายก็ได้
- เมื่อพบว่าปลาลอยหัวก็ให้นำปลาที่ลอยไปตรวจเช็คทันที
สีของน้ำที่เลี้ยงปลา
สีของน้ำจะทำให้ผู้เลี้ยงปลาสามารถสังเกตอาการของปลาที่เลี้ยงได้ดี เช่นน้ำใสเห็นตัวปลาทำให้เห็นอาการต่าง ๆ ของปลาสะดวก ซึ่งสามารถป้องกันและกำจัดได้ทันที และเมื่อใดสีของน้ำที่เลี้ยงขุ่น มีแพลงต์ตอนพืชอยู่เต็มระบบน้ำหมุนเวียนอาจทำให้ผู้เลี้ยงปลาสังเกตและป้องกันได้ยาก แต่ถ้าพบว่ามีแพลงต์ตอนพืชมากอาจมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำหรืออาจใส่โรติเฟอร์ลงไปในบ่อเพื่อให้โรติเฟอร์กินแพลงต์ตอนพืช หรืออาจมีการตรวจคุณภาพน้ำเป็นระยะเพื่อป้องกันเหตุต่าง ๆ ที่จะตามมา
การสังเกตพฤติกรรมปลาที่เลี้ยง จึงมีความสำคัญ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่า ปลายังมีความสุขอยู่ดีหรือไม่ ถ้าปลาที่เลี้ยงมีอาการต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวมา แสดงว่ามีสาเหตุที่ทำให้ปลาไม่มีความสุขอยู่ในบ่อปลา ควรจะต้องหาสาเหตุและแก้ไขก่อน ที่จะสายเกินกาล
ในการเลี้ยงปลาแต่ละชนิดไม่ว่าปลาน้ำจืดหรือปลาน้ำเค็ม เลี้ยงในบ่อเลี้ยงในกระชัง เลี้ยงในระบบน้ำหมุนเวียนควรจะมีการสังเกตระบบการจัดการที่ดี จึงจะทำให้การเลี้ยงปลา ประสบความสำเร็จ
แนวทางการจัดการ
ควรมีการตรวจเช็ค คุณภาพของน้ำเป็นประจำ มีการตรวจโรคและบันทึก การตรวจโรคทุกครั้ง การตรวจโรคไม่จำเป็นต้องรอให้ปลาเป็นโรคหรือแสดงอาการก่อน วิธีการนำปลาตรวจโดยการสุ่มปลามาตรวจอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง เพื่อป้องกันโรค เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าเชื้อโรคจะมาตอนไหน และถ้าตรวจพบโรคดังกล่าวหรืออาการต่าง ๆ ที่ได้เห็นมานำมาวิเคราะห์ดูว่าปลาเป็นโรคอะไร มาจากสาเหตุอะไรจึงทำให้ปลาที่เลี้ยงอ่อนแอลง และเมื่อพบสาเหตุแล้วทำการรักษาทันที เพื่อตัดวงจรของโรคไม่ให้ลุกลาม และอีกประการหนึ่ง ถ้ามีการเลี้ยงปลาหนาแน่น ควรมีการเฝ้าระวังในเรื่องออกซิเจนอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะการรักษาปลาโดยวิธีแช่ยา 24 ชั่วโมง ควรมีการเพิ่มปั้มลมและการใช้ยารักษาควรใช้ให้ถูกกับโรคและไม่ควรใช้เกินขนาด เพราะอาจทำให้ปลาตายและทำให้ปลาโตช้าและแกรน
ในการเลี้ยงปลาแต่ละชนิดไม่ว่าปลาน้ำจืดหรือปลาน้ำเค็ม เลี้ยงในบ่อ เลี้ยงในกระชังในระบบน้ำหมุนเวียนควรจะมีการสังเกตพฤติกรรมปลาที่เลี้ยง จึงมีความสำคัญซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่า ปลายังมีความสุขอยู่ดีหรือไม่ ถ้าปลาที่เลี้ยงมีอาการต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแสดงว่ามีสาเหตุที่ทำให้ปลาไม่มีความสุขอยู่ในบ่อปลา ควรจะต้องหาสาเหตุและแก้ไขก่อนที่จะสายเกินกาล ผมหวังว่า บทความนี้คงจะช่วยให้ผู้เลี้ยงปลา สามารถสังเกตพฤติกรรมของปลา วิเคราะห์หาทางแก้ไข ก่อนที่จะเสียหายมากนะครับ แล้วพบกันใหม่
โดยโกวิทย์ พุฒทวีhttps://www.facebook.com/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A5-327835997308660/

No comments:

Post a Comment