Saturday, 24 September 2016

การเลี้ยงปลานิลในบ่อปูน

การเพาะพันธุ์ปลานิลแดงทำการเพาะพันธุ์แบบเลียนแบบธรรมชาติ ในบ่อซีเมนต์ขนาด 50 ตารางเมตร
โดยปล่อยพ่อพันธุ์ปลานิลแดง ขนาด 0.5-0.7 กิโลกรัม และแม่พันธุ์ปลาขนาด 0.3-0.6 กิโลกรัม
ในอัตราพ่อพันธุ์ 40 ตัว แม่พันธุ์ 70 ตัว / บ่อ ให้อาหารปลาดุกใหญ่ เปอร์เซ็นต์โปรตีนไม่ต่ำกว่าร้อยละ
25 ผสมวิตามิน C ,วิตามิน E และวิตามินรวม ในอัตรา 5 กรัม / อาหาร 1 กิโลกรัม ให้อาหารวันละ
1 ครั้งเวลาบ่าย อัตราการให้อาหาร 0.5-1% ของน้ำหนักตัว หลังจากปล่อยพ่อแม่ปลานิลแดงครบ 7 วั
ทำการเคาะปากปลานิล เพื่อนำไข่ปลานิลออกจากปากแม่ปลามาเพาะฟักในอุปกรณ์ฟักไข่ จำนวนแม่ปลาให้
ไข่เฉลี่ย 23 ตัว/บ่อ/สัปดาห์ แม่ปลา 1 ตัว ให้ไข่ประมาณ 1,800 ฟอง นำไข่ระยะ1-2 ที่ได้มาฟักในกรวย
ฟักไข่ ทำความสะอาดไข่ก่อนนำสู่กรวยฟักไข่และเมื่อลูกปลาฟักเป็นตัวในระยะที่ 3 ให้ย้ายลงถาดอนุบาล
จนถุงไข่แดงยุบ จึงนำลูกปลาย้ายลงอนุบาลต่อในกระชังขนาด 2x5x1.2 เมตร ในอัตรา 15,000 ตัว / กระชัง

นำลูกปลานิลที่ฟักเป็นตัวแล้วลงอนุบาลในกระชังขนาด 2x5x1.2 เมตร ในอัตรา 15,000 ตัว / กระชัง
เริ่มให้อาหารกุ้งกุลาดำวัยอ่อนระยะที่ 1 ผสมฮอร์โมน 17& methyltestosterone ในอัตรา 60 มิลลิกรัม
ต่อ อาหาร 1 กิโลกรัม แบ่งให้อาหารผสมฮอร์โมนวันละ 5 ครั้ง โดยสัปดาห์ที่ 1 ให้อาหารประมาณ
50 กรัม/มื้อ สัปดาห์ที่ 2 ให้อาหาร 80 กรัม/มื้อ และสัปดาห์ที่ 3 ให้อาหาร 100 กรัม/มื้อ
ใช้เวลาในการให้อาหารผสมฮอร์โมนเพื่อแปลงเพศปลา 21 วัน ทำการย้ายลูกปลานิลที่แปลงเพศเสร็จแล้ว
ไปอนุบาลต่อในกระชังขนาด 5x8x1.2 เมตร (1,250 ตัว / ตารางเมตร) ให้อาหารเม็ดเล็ก เปอร์เซ็นต์
โปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 38 ให้อาหาร 4 มื้อ เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ จะได้ลูกปลานิลแปลงเพศ
ขนาด 2-3 เซนติเมตร

Thursday, 22 September 2016

การสังเกตุอาการของปลานิล

การสังเกตุอาการของปลานิล
ในการเลี้ยงปลาแต่ละชนิดไม่ว่าจะเลี้ยงในกระชัง ในระบบน้ำหมุนเวียนและในบ่อคอนกรีตก็ตาม การป้องกันและการสังเกตุปลาที่เลี้ยงเป็นแนวทางที่จำเป็นมากในการเลี้ยงปลา ที่จะนำมาใช้ในการเลี้ยงปลาและเป็นผลดีต่อผู้เลี้ยงปลา ซึ่งการป้องกันและกำจัดสิ่งที่มารบกวนปลาก่อนที่จะมาถึงตัวปลาให้หมดหรือไม่หมดก็ได้ เพราะมันจะกลับมาอีก ถ้าไม่มีการสังเกต การป้องกัน เช่น ออกซิเจนต่ำ ปลาไม่กินอาหาร ปลาลอยหัว ปลาเป็นแผล ปลาตาย ปลาเอาลำตัวถูกับพื้นบ่อ และการจัดการในเรื่องต่าง ๆ ในการเลี้ยงปลา ซึ่งถ้าไม่แก้ไขและป้องกันจะทำให้เสียหายมากขึ้น แต่ถ้ามีการสังเกต ป้องกัน แก้ไข และตัดไฟแต่ต้นลมก็จะลดการสูญเสียน้อยลง โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ออกซิเจนต่ำ ออกซิเจนไม่พอเพียงสำหรับปลาหายใจ ปลากินอาหารมากและเวลาแช่ยาปลาที่เป็นโรค ออกซิเจนเป็นตัวช่วยให้ปลามีชีวิตอยู่ได้ และทำให้ปลาเจริญเติบโตดี ถ้าเลี้ยงปลาหนาแน่นมาก ให้อาหารปลากินมาก ควรมีการเฝ้าระวังเป็นอย่างดี เพราะออกซิเจนจะต่ำช่วงไหนก็ได้ ดังนั้นเราจึงต้องมีการสังเกตและป้องกันตลอดระยะของการเลี้ยงปลา
ข้อสังเกต
อาการปลาที่ตายจากการขาดออกซิเจน ปลาอ้าปากและถ้าปลาเริ่มขาดออกซิเจนจะเริ่มลอยหัว ตัวดำเพราะปลาเครียดและถ้าพบอาการแบบนี้ต้องเพิ่มอากาศให้มาก โดยการติดตั้งแอร์ปั้มเพิ่มทันที หรือถ้าน้ำขุ่นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำทันที
วิธีการป้องกันและไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นบ่อย ๆ ควรต้องมีการตรวจเช็คออกซิเจนเป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขออกซิเจนต่ำ และเมื่อรู้ว่าบ่อไหนออกซิเจนต่ำก็จะทำการแก้ไขโดยการเพิ่มออกซิเจนให้ปลา โดยออกซิเจนควรจะอยู่ในช่วง 5 ขึ้นไปถึงจะดี และถ้าต่ำกว่า 4 ลงมาควรมีการเพิ่มปั้มลมไว้ก่อน เพื่อป้องกันปลาขาดออกซิเจน
2. ปลาไม่กินอาหาร ปลาลอยหัว ปลาเอาลำตัวถูกับพื้นบ่อ ปลาเป็นแผลและเกาะกลุ่มอยู่ที่ออกซิเจน ซึ่งเป็นอาการของปลาที่เลี้ยงและพบบ่อยในระบบน้ำหมุนเวียน และอาจจะสันนิฐานได้ว่าปลาที่เลี้ยงอาจจะเป็นโรคชนิดใดชนิดหนึ่ง หรืออาจจะเป็นพวกปรสิตเกาะและถ้าพบอาการแบบนี้ในปลา 1-2 ตัว ให้ทำการป้องกันหรือสังเกตอาการปลาที่เลี้ยง ซึ่งจะได้รักษาและป้องกันได้ถูกทาง ถ้าไม่สังเกตอาการก่อนจะเกิดความเสียหายสูญเสียปลามาก ทำไมปลาลอยผิว ทำไมปลาเอาลำตัวถูกับพื้นบ่อ และทำไมปลามารวมกลุ่มที่ออกซิเจน ซึ่งเหมือนกับหมอที่รักษาคนไข้ ต้องถามอาการและสังเกตคนไข้ก่อนจึงจะรักษาไข้ถูกวิธี แต่ปลาที่เลี้ยงเขาพูดไม่ได้ เราจึงต้องมีการสังเกตอาการปลาที่เลี้ยง เพื่อจะได้รักษาและป้องกันได้ถูกวิธีและไม่ลุกลามไปมากกว่าที่เป็นอยู่ เช่น
- ปลาเอาลำตัวถูกับพื้นบ่อ อาจมีหลายสาเหตุ เช่น จุดขาว ปรสิตเกาะซึ่งทำให้ปลาเป็นแผลและ
ติดเชื้อตาย
วิธีป้องกัน
- จะทำทันที่เมื่อพบเห็นอาการแบบนี้หรือถ้าเห็นปลาตายก็นำปลาไปตรวจก่อน แต่ต้องนำปลาที่
พึ่งตายหรือปลายังไม่ตายตรวจหรือจับปลามาขูดเมือกปลาไปตรวจดู บางครั้งอาจสุ่มทีละ 2-3 ตัว เพื่อให้แน่ใจว่ามีสิ่งแปลกปลอมอยู่หรือไม่ ถ้าพบก็ทำการรักษาและป้องกันไม่ให้ลุกลามมากขึ้น
- ปลาลอยหัวเกาะกลุ่มอยู่ที่ออกซิเจน ซึ่งต้องสังเกตให้ดีว่าปลาเกาะกลุ่มเป็นโรคหรือเกาะกลุ่ม
เพราะขาดออกซิเจน และปลาที่เกาะกลุ่มเป็นโรคอาจจะมีบางสิ่งบางอย่างไปรบกวนการทำงานของเหงือกปลา ทำให้ปลาใช้ออกซิเจนไม่เติมที่ และอาจจะทะยอยตายก็ได้
- เมื่อพบว่าปลาลอยหัวก็ให้นำปลาที่ลอยไปตรวจเช็คทันที
สีของน้ำที่เลี้ยงปลา
สีของน้ำจะทำให้ผู้เลี้ยงปลาสามารถสังเกตอาการของปลาที่เลี้ยงได้ดี เช่นน้ำใสเห็นตัวปลาทำให้เห็นอาการต่าง ๆ ของปลาสะดวก ซึ่งสามารถป้องกันและกำจัดได้ทันที และเมื่อใดสีของน้ำที่เลี้ยงขุ่น มีแพลงต์ตอนพืชอยู่เต็มระบบน้ำหมุนเวียนอาจทำให้ผู้เลี้ยงปลาสังเกตและป้องกันได้ยาก แต่ถ้าพบว่ามีแพลงต์ตอนพืชมากอาจมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำหรืออาจใส่โรติเฟอร์ลงไปในบ่อเพื่อให้โรติเฟอร์กินแพลงต์ตอนพืช หรืออาจมีการตรวจคุณภาพน้ำเป็นระยะเพื่อป้องกันเหตุต่าง ๆ ที่จะตามมา
การสังเกตพฤติกรรมปลาที่เลี้ยง จึงมีความสำคัญ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่า ปลายังมีความสุขอยู่ดีหรือไม่ ถ้าปลาที่เลี้ยงมีอาการต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวมา แสดงว่ามีสาเหตุที่ทำให้ปลาไม่มีความสุขอยู่ในบ่อปลา ควรจะต้องหาสาเหตุและแก้ไขก่อน ที่จะสายเกินกาล
ในการเลี้ยงปลาแต่ละชนิดไม่ว่าปลาน้ำจืดหรือปลาน้ำเค็ม เลี้ยงในบ่อเลี้ยงในกระชัง เลี้ยงในระบบน้ำหมุนเวียนควรจะมีการสังเกตระบบการจัดการที่ดี จึงจะทำให้การเลี้ยงปลา ประสบความสำเร็จ
แนวทางการจัดการ
ควรมีการตรวจเช็ค คุณภาพของน้ำเป็นประจำ มีการตรวจโรคและบันทึก การตรวจโรคทุกครั้ง การตรวจโรคไม่จำเป็นต้องรอให้ปลาเป็นโรคหรือแสดงอาการก่อน วิธีการนำปลาตรวจโดยการสุ่มปลามาตรวจอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง เพื่อป้องกันโรค เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าเชื้อโรคจะมาตอนไหน และถ้าตรวจพบโรคดังกล่าวหรืออาการต่าง ๆ ที่ได้เห็นมานำมาวิเคราะห์ดูว่าปลาเป็นโรคอะไร มาจากสาเหตุอะไรจึงทำให้ปลาที่เลี้ยงอ่อนแอลง และเมื่อพบสาเหตุแล้วทำการรักษาทันที เพื่อตัดวงจรของโรคไม่ให้ลุกลาม และอีกประการหนึ่ง ถ้ามีการเลี้ยงปลาหนาแน่น ควรมีการเฝ้าระวังในเรื่องออกซิเจนอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะการรักษาปลาโดยวิธีแช่ยา 24 ชั่วโมง ควรมีการเพิ่มปั้มลมและการใช้ยารักษาควรใช้ให้ถูกกับโรคและไม่ควรใช้เกินขนาด เพราะอาจทำให้ปลาตายและทำให้ปลาโตช้าและแกรน
ในการเลี้ยงปลาแต่ละชนิดไม่ว่าปลาน้ำจืดหรือปลาน้ำเค็ม เลี้ยงในบ่อ เลี้ยงในกระชังในระบบน้ำหมุนเวียนควรจะมีการสังเกตพฤติกรรมปลาที่เลี้ยง จึงมีความสำคัญซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่า ปลายังมีความสุขอยู่ดีหรือไม่ ถ้าปลาที่เลี้ยงมีอาการต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแสดงว่ามีสาเหตุที่ทำให้ปลาไม่มีความสุขอยู่ในบ่อปลา ควรจะต้องหาสาเหตุและแก้ไขก่อนที่จะสายเกินกาล ผมหวังว่า บทความนี้คงจะช่วยให้ผู้เลี้ยงปลา สามารถสังเกตพฤติกรรมของปลา วิเคราะห์หาทางแก้ไข ก่อนที่จะเสียหายมากนะครับ แล้วพบกันใหม่
โดยโกวิทย์ พุฒทวีhttps://www.facebook.com/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A5-327835997308660/

Thursday, 1 September 2016

การมาของปลานิล

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2508 พระเจ้าจักรพรรดิ อากิฮิโต ซึ่งขณะนั้นยังเป็น มกุฎราชกุมารแห่ง
ประเทศญี่ปุ่น ได้ทรงจัดส่งปลานิลจำนวน 50 ตัว ความยาวเฉลี่ยตัวละประมาณ 9 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 14 กรัม มาทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยระยะแรกได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยเลี้ยงในบ่อดิน เนื้อที่ประมาณ 10 ตารางเมตร ในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อเลี้ยงมาได้ 5 เดือนเศษ ปรากฏว่ามีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดบ่อขึ้นใหม่อีก 6 บ่อ เฉลี่ยบ่อละประมาณ 70 ตารางเมตร ซึ่งในโอกาสนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงย้ายปลานิลด้วยพระองค์เองจากบ่อเดิมไปปล่อยในบ่อใหม่ทั้ง 6 บ่อ เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2508 ต่อจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มอบหมายให้กรมประมงจัดส่งเจ้าหน้าที่วิชาการมาตรวจสอบการเจริญเติบโตเป็นประจำทุกเดือน
เนื่องจากคุณสมบัติของปลานิลเป็นปลาจำพวกกินพืช เลี้ยงง่าย มีรสดี ออกลูกดก เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ในระยะเวลา 1 ปี จะมีน้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัมและมีความยาวประมาณ 1 ฟุต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้มีพระราชประสงค์ที่จะให้ปลานี้แพร่ขยายพันธุ์ อันจะเป็นประโยชน์แก่พสกนิกรของพระองค์สืบต่อไป
ณ ที่สถานีประมงน้ำจืดชัยนาทหลังจากที่ได้รับพระราชทานมาก็ได้ปล่อยลงในสระเลี้ยงที่สถานี อยู่มาระยะหนึ่ง เจ้าหน้าที่ได้เห็นปลาสีแปลกว่ายรวมกันกับฝูงปลานิล ก็ได้ช่วยกันจับขึ้นมาดู รูปร่างคือปลานิลแต่สีเป็นเหลือบๆทองๆออกส้มๆ ก็เลยนำมาถวายกับสมเด็จพระเทพฯ ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงปล่อยลงบ่อที่ในสวนจิตร อยู่อีกระยะนึงท่านก็ได้พระราชทานไปสู่ประมงจังหวัดต่อๆไปในชื่อปลาทับทิม และชุดนี้คือปลาธรรมชาติ

Friday, 19 August 2016

การเลี้ยงลูกปลานิล

การเลี้ยงลูกปลานิลตั้งแต่ขนาดใบมะขามเอง ทำไม ?
- ปลาขนาดนี้ ประหยัดต้นทุนไปได้มาก
- ปลาที่เขาอนุบาลมาให้ เราไม่สามรถรุ้ได้ว่า ปลาชุดนั้น เป็นปลาที่เขาคัด ครั้งที่เท่าไหร่(การคัดปลาทำให้ได้ปลาอนุบาลขนาดเท่าๆกัน ทำให้ขายได้พร้อมๆกัน) ถ้าครั้งที่ 1 ก็โตเร็ว ครั้งที่ 2 ก็พอไปได้ ครั้งที่ 3 อันี้เรียกปลาหาง เลี้ยงยังไงก็ไม่โต คือไม่คุ้มค่าอาหาร เวลา ในทางปฏิบัติ ปลาจะคัด 2 ครั้ง ที่เหลือหลังจากที่คัดแล้ว ควรเอาไปทิ้ง หรือ ทำอย่างอื่น ถามว่า เกษตรที่เลี้ยงลูกปลา เขาจะเอาไปทิ้ง หรือ ทำอย่างอื่นไหม ตอบว่า.........ไม่ทราบ .....ขึ้นอยุ่กับจรรยาบรรแต่ละฟาร์ม บางฟาร์มทิ้ง บางแห่ง ก็เอาปลาพวกนี้มารวมกับปลา รุ่นใหม่ เรียกว่าผสมๆกันไป
- เราสามารถคัดปลาเอง คือ คัดปลามา 2 ครั้ง ครั้งแรกปลาหัว พวกนี้เลี้ยงจาก 30 กรัม เป็น 800 กรัม ภายใน 3.5 เดือน จากปกติ 4 เดือน นี่คือข้อดีครับ

Tuesday, 9 August 2016

10 การเลี้ยงปลานิล




10 การเลี้ยงปลานิล
ตามรอยพระราชดำริ ศูนย์ศึกษการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตอนที่ 10 การเลี้ยงปลานิล โดย ศูนย์ศึกษการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

Saturday, 6 August 2016

ขอฝาก การเลี้ยงปลาช่อนในบ่อซีเมนต์

การเลี้ยงปลาช่อนในบ่อซีเมนต์

ปลาช่อน เป็นปลาน้ำจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทย พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไปในประเทศไทย เป็นปลาที่มีรสชาติดี มีก้างน้อย สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด โดยธรรมชาติแล้วปลาช่อนเป็นปลาประเภทกินเนื้อ กินสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ รวมทั้งปลาเล็กปลาน้อย และแมลงต่าง ๆในน้ำเป็นอาหาร เมื่ออาหารขาดแคลนทำให้ปลาช่อนตัวใหญ่หันกลับมากินปลาช่อนตัวเล็ก ซึ่งการเลี้ยงปลาช่อนเรื่องอาหารเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะถ้าอาหารขาดแคลนปลาช่อนจะกินกันเอง
นางย้อม แสงสว่าง ณ บ้านเลขที่ 8 หมู่ที่ 2 ต.ป่างิ้ว อ.เมือง จ.อ่างทอง เป็นผู้ริเริ่มเลี้ยงปลาช่อนในบ่อซีเมนต์เป็นผลสำเร็จน่าภูมิใจอย่างยิ่ง คุณย้อมเล่าว่า มีเวลาว่างก็เลยคิดที่จะทดลองเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อซีเมนต์ ซึ่งมีที่อยู่รอบบ้านว่างอยู่ โดยครั้งแรกก็นำปลาหมอไทยมาเลี้ยง ปลาดุก กบมาเลี้ยงก็ได้ผลแต่ปลาหมอไทยไม่ได้ผลเนื่องจากการเติบโตช้ามาก จึงข้ามมาทดลองเลี้ยงปลาช่อนดู เห็นว่าราคาดีและยังไม่มีใครทำจึงได้ดำเนินการดังนี้
เตรียมบ่อซีเมนต์
1. บ่อซีเมนต์ควรทำหลายๆบ่อก็จะดี เช่น บ่ออนุบาลปลาช่อน ควรมีขนาด 2 x 3 เมตรหรือ 2×2 เมตรก็ได้ ความลึกขนาด 30 ซม. มีหลังคาคลุมป้องกันงู นก จะมากินลูกปลาช่อน ปล่อยลูกปลาขนาด (ประมาณ1-2 นิ้ว) ได้ 2000-3000 ตัว ควรทำ 2-3 บ่อถ้าต้องเลี้ยงปลาจำนวน 10000 ตัว อนุบาลไว้ 30 วัน
บ่อเลี้ยง ควรมีขนาด 5×10 เมตร ลึก 1 เมตร แช่น้ำให้มีตระใคร่น้ำจับให้หมดฤทธิ์ของปูน ใส่น้ำขนาดความลึก 30 ซม. ใส่ผักตบชวา (ผักปลอด) จำนวนครึ่งของพื้นที่บ่อให้ปลาช่อนได้หลบแสงและป้องกันน้ำเสียง่าย บ่อเลี้ยงมีอย่างน้อย 2-3 บ่อ เพื่อให้คัดขนาดของปลาที่โตเท่าๆ กันเลี้ยงในบ่อเดียวกัน
การหาลูกปลาช่อนและการอนุบาล
ลูกปลาช่อนหาได้จากลำคลอง ทุ่งนาข้าว หรือ แหล่งน้ำ จะเห็นว่าในช่วงฤดูฝนเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมปลาช่อนจะวางไข่ และ จะมีลูกปลาเล็กๆ ตัวขนาด 1-2 นิ้ว เป็นฝูงจะมองเห็นผุดน้ำระยิบๆ ก็จะนำสวิงตาถี่ เช่นไนลอนเขียวทำเป็นสวิงตักปลาขนาดกลางเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1เมตร นำไปช้อนลูกปลาและใส่ภาชนะกระมังใหญ่ๆ หรือใส่ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ อัดอ๊อกซิเจนกรณีลำเลียงลูกปลาไกลๆ เมื่อได้ลูกปลาแล้วนำมาแช่น้ำใหม่โดยใส่ยาฆ่าเชื้อโรคเจือจางก่อนนำลงบ่ออนุบาล ทิ้งไว้ 1วัน ให้ลูกปลาหิวก็จะนำอาหารชนิดผงของปลาดุกเล็กมาปั้นก้อนขนาดเท่าหัวแม่มือ 2-3 ก้อน วางลงในบ่อปลาลูกปลาจะเข้ามากินและชอบกินมาก ในวันต่อๆ มา ควรให้วันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น และในสัปดาห์ต่อมาควรฝึกให้กินจิ้งหรีดตัวเล็กๆ ในสัปดาห์ที่ 3-4 ซึ่งลูกปลาจะโตขนาดเท่านิ้วมือความยาวขนาด 4-5 นิ้ว
การเลี้ยงปลาเป็นใหญ่

เมื่อลูกปลาอายุ 1 เดือน จะย้ายปลาช่อนลงบ่อเลี้ยงขนาด 5×10 เมตร จำนวนบ่อละ 2000-3000 ตัว ช่วงนี้กรณีไม่มีจิ้งหรีดหรือไม่เพียงพอ ให้ใช้หอยเชอรี่มาต้มทั้งตัวและ แคะเอาแต่เนื้อหอยมาสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปใส่ในบ่อปลาช่อนจะกินจำนวนหอยเมื่อแกะแล้วจำนวนครั้งละ 1 กิโลกรัม แต่จะทำให้น้ำเสียเร็ว ประมาณ 15วัน จะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำ กรเปลี่ยนถ่ายน้ำให้น้ำไหลออกจากรูระบายน้ำที่มีขนาดเล็กกว่าตัวปลา ปล่อยน้ำให้หมดบ่อเลยแล้วเอาน้ำใหม่ใส่ ข้อดีคือ ทำให้เราเห็นสภาพของปลาได้ชัดเจนว่า ปลาเจ็บป่วยหรือไม่ และปริมาณการเติบโตจะเห็นได้ชัด พร้อมทั้งคัดขนาดของปลาได้
ข้อระวัง
บ่อจะต้องมีตาข่ายไนล่อนเขียวขึงปิดไว้ริมบ่อให้สูง ยิ่งถ้าฝนตกปลาช่อนจะกระโดดสูง ถ้าไม่กันจะกระโดดออกหมด
อาหารเลี้ยงปลาช่อน
จำเป็นจะต้องลดต้นทุนให้มากที่สุด ให้ได้กำไรมากที่สุด ช่วงระยะของการเลี้ยงปลาช่อน
ต้องการปลาช่อนขนาดเล็ก 4 ตัว/กิโลกรัม จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน
ต้องการปลาช่อนขนาด 2-3ตัว /กิโลกรัม จะใช้เวลาประมาณ 8-9 เดือน ในกรณีที่ใช้อาหารปลาดุก +จิ้งหรีด ระยะเวลาจะเร็วกว่านี้ ประมาณ 1 เดือนการให้อาหารปลาช่อนให้เช้า-เย็น กรณีถ้าเราเลี้ยงจิ้งหรีดได้สัปดาห์ละ 5 หมื่นตัวต่อสัปดาห์ จะเพียงพอสำหรับการเลี้ยงปลาดุก 1 บ่อ(2000-3000ตัว)
การตลาด
ปลาช่อนเป็นปลาเศรษฐกิจขายได้ทุกขนาด ยิ่งน้ำหนักตัวละ 8-9 ขีด ถึง 1กิโลกรัม จะได้ราคาดีกิโลกรัมละ70-80 บาท ถ้าเผาปลาช่อนขายจะขายได้ตัวละ 90-100 บาท ปลาช่อนเล็ก ราคากิโลกรัมละ 50-60 บาท แต่ถ้าแปรรูปเป็นปลาเค็ม ปลาช่อนแดดเดียว ราคากิโลกรัมละ 120 บาท ความต้องการของตลาดมีมาก ในช่วงเวลาก่อนขาย 1 เดือน จะถ่ายน้ำบ่อยเพื่อให้ปลาช่อนไม่มีกลิ่นสาบของน้ำและช่วงเวลาจับขายจะให้อาหารจิ้งหรีด หรืออาหารปลาดุกชนิดเม็ดอย่างเดียว ไม่ให้หอยเชอรี่เนื่องจากจะทำให้น้ำมีกลิ่นและปลาจะมีกลิ่นตามไปด้วย ควรถ่ายน้ำบ่อยๆ ในช่วงเดือนที่จะจับขาย ปลาช่อนจะมีสีสวยงามสีของปลาช่อนจะมีเกล็ดเป็นเงางามอ้วนสมบูรณ์ ในขณะเลี้ยงจะต้องจำกัดอาหารให้พอดี ปลาช่อนชอบกินอาหรประเภทจิ้งหรีดมาก บางครั้งพบว่ากินจนท้องแตกในระยะเล็ก ๆ
การแปรรูปปลาช่อน
ทุกคนทราบดีว่าปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดที่บริโภคได้อร่อย ทั้งต้ม แกง ปลาเค็ม ปลาหยอง ปลาทุบ แม้แต่ทำเค็กเนื้อปลา
ผลกำไร
ตลอดระยะเวลาช่วงเลี้ยง 8-9 เดือน ตัวรุ่นเล็ก 2500 ตัว จะได้น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1200 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 60 บาท เป็นอย่างต่ำ เป็นเงิน 72000 บาท การลงทุนหากไม่คิดค่าบ่อ คิกแต่ค่าอาหารช่วงเล็กๆค่าน้ำ ค่ากระแสไฟฟ้า ใช้แรงงานในครัวเรือนแล้วใช้เงินประมาณ 1500บาท/รุ่น ซึ่งก็ทำให้มีผลกำไรสูง ถ้าเลี้ยงหมุนเวียนประมาณ 3 บ่อ ก็จะมีรายได้ที่งดงามจริงๆ สนใจ ดูการเลี้ยงปลาช่อนในบ่อซีเมนต์ เส้นทางของเกษตรมีอนาคต สามารถเป็นรูปแบบจุดประกายความคิดให้อีกหลายๆ ชีวิต ได้ลุกขึ้นสู้ภัยเศรษฐกิจ รีบกลับบ้านที่ว่างในรั้วบ้านยังมีพอจะสร้างบ่อซีเมนต์แล้วเลี้ยงปลาหรือกบหรือคางคก ทุกอย่างสามารถเลี้ยงเป็นเงินทั้งนั้น หรือจะเข้าชมการเลี้ยงของคุณย้อม แสงสว่าง เลขที่ 8 หมู่ 2ต.ป่างิ้ว อ. เมือง จ.อ่างทอง ชมรมเพื่อนเกษตรโทร.035-627333
Cr….ศาสตร์พระราชา

Tuesday, 2 August 2016

คลิปศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์ บ้านจำปุย ปลานิลในบ่อปูน


ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์ บ้านจำปุย อำเภอะแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

Saturday, 9 July 2016

ถิ่นกำหนิดปลานิล

ถิ่นกำเนิด[แก้]

ปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดานยูกันดา และทะเลสาบแทนกันยีกา ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อภายในสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
ผลการทดลองปรากฏว่าปลานิลที่โปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า ปลานิล (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Tilapia nilotica) และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี
ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงและแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดาต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุ์ปลานิลดังกล่าวว่า ปลานิลจิตรลดา ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ

Thursday, 7 July 2016

วิธีการทำอาหารปลานิลปลาโตเร็วประหยัด

วิธีการทำอาหารปลานิลปลาโตเร็วประหยัด
สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานั้นต่างก็ประสบกับปัญหาในเรื่องของราคาที่สูงขึ้น และอาหารถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ถ้าหากให้กินน้อยปลาก็จะไม่เจริญเติบโต หรือหากให้กินมากก็จะทำให้ต้นทุนสูง และจะทำให้มีเศษอาหารเหลือตกค้างอยู่ในบ่อ ทำให้เกิดน้ำเสียได้ง่าย คุณป้าอำนาจ ปัญญามัง เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในบ่อดิน จากชุมชนบ้านทราย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี จึงได้คิดหาวิธีการลดต้นทุน และเลี้ยงปลาให้โตเร็ว จนได้มาประสบความสำเร็จกับสูตรอาหารเสริม ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ก็คือ ช่วยลดต้นทุน และปลาโตเร็ว ซึ่งจากเดิมเคยจ่ายค่าอาหารเดือนละ 5,000 บาท หลังจากที่ใช้สูตรอาหารดังกล่าว ก็จ่ายค่าอาหารแค่เดือนละ 1,000 บาท และอีกอย่างก็คือ คุณป้าสามารถจับปลาได้ 2 เดือน ต่อ ครั้ง ได้ปลาที่มีขนาดตัวละ 1 กิโลกรัม จึงถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก คุณป้าอำนาจจึงต้องการนำสูตรดังกล่าวมาเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจได้ทดลองนำไปใช้เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร โดยมีรายละเอียดดังนี้
เทคนิคการทำอาหารเสริมสำหรับปลานิลเพื่อลดต้นทุน
ส่วนผสม
1. รำ 6 กิโลกรัม
2. เปลือกถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม
3. เศษผัก 3 กิโลกรัม
วิธีการทำ
นำรำ เปลือกถั่วเหลือง และเศษผักในอัตราส่วนที่กำหนด มาต้มรวมกัน ต้มไว้ประมาณ 20 นาที ก็สามารถนำไปเทให้ปลากินได้ โดยให้กินวันละ 1 ครั้ง

***คุณอำนาจ ได้แนะนำข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้อาหารปลาเพิ่มเติม ว่าควรจะให้ปลากินฟาง เป็นอาหารเสริม หรือเรียกอีกอย่างว่าปลากินพืช โดยที่นำฟางไปใส่ไว้ในบ่อปลาไม่ต้องผสมอะไรเลย แช่ไว้ให้เปื่อยแล้วปลาก็จะมากัดกินเอง

ข้อมูลโดย : คุณอำนาจ ปัญญามัง ผู้เลี้ยงไก่ไข่และเลี้ยงปลา จ.ลพบุรี
ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *๑๖๗๗
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.สระบุรี
http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php

Thursday, 30 June 2016

Sunday, 26 June 2016

คลิปจากคลินิคเกษตร เทคนิคการให้อาหารปลานิล แบบแขวน



คลิปจากคลินิคเกษตร เทคนิคการให้อาหารปลานิล แบบแขวน

ปลานิลเป็นอาหารคู่ครัวของไทยมานานทุกบ้านกินปลานิล แทบเป็นอาหารหลักเพราะถูกและอร่อย ทำให้ขายได้ปริมาณที่มาก ราคาอยู่ในเกณท์ดี